ข้อไหล่เป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดข้อหนึ่งในร่างกาย
มีพิสัยการเคลื่อนไหวกว้าง และสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง กายวิภาคของข้อไหล่มีลักษณะโครงสร้างกระดูกข้อไม่มั่นคงมากนักเนื่องจากข้อไหล่มีบริเวณที่สัมผัสกันระหว่างกระดูกน้อย
ความมั่นคงส่วนใหญ่จึงเกิดจาก การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่
และกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการให้ความมั่นคงต่อกระดูกสะบัก การบาดเจ็บต่อโครงสร้างเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความไม่สมดุล
และอาจเกิดปัญหาความไม่มั่นคงของข้อไหล่ตามมาได้

    ปัญหาในข้อไหล่ที่พบบ่อย

1.ข้อไหล่อักเสบ คือ ภาวะที่เอ็นรอบข้อไหล่เสื่อม หรือมีการอักเสบของถุงน้ำข้อไหล่,อักเสบจากผลึกหินปูน

2.ข้อไหล่ติด คือ ภาวะที่เยื่อหุ้มข้อหดรัด ทำให้ข้อไหล่เคลื่อนไหวได้ลดลงทุกทิศทาง จะเกิดอาการปวด เมื่อเคลื่อนไหวจนสุด และปวดมากเวลานอนกลางคืน

3.ข้อไหล่หลุดหลวม คือ ภาวะข้อไหล่หลุดจากอาการบาดเจ็บมีการฉีกขาดของเบ้าข้อไหล่ เมื่อหลุดซ้ำๆก็ทำให้ไหล่ไม่มั่นคงหรือภาวะข้อไหล่หลวมและทำให้เกิดอาการปวดไหล่

4.เอ็นกล้ามเนื้อไหล่ถูกกด คือ ภาวะที่เอ็นของกล้ามเนื้อที่ประคองข้อไหล่ ทำให้มุมการเคลื่อนไหวมีจำกัด

5.กล้ามเนื้อข้อไหล่ฉีกขาด คือ ภาวะกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่มีการฉีกขาดทำให้ไม่มีแรงยกแขน อาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือ การถูกบางส่วนของกระดูกสะบักกดเป็นเวลานานๆ

    การรักษาแบบประคอง ได้แก่ การกินยา ฉีดยา การทำกายภาพเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อหรือเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ รวมถึงการทำกายภาพเพื่อลดการอักเสบ เมื่อรักษาด้วยการประคับประคอง 2-6 สัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้นหรือไม่น่าพึ่งพอใจ

                แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัด

   การรักษาโดยการส่องกล้อง

                การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อ คือ การผ่าตัดโดยเจาะรูที่ไหล่ 2-4 รู รูละประมาณ 1 ซม. เพื่อใส่เครื่องมือเข้าไปในไหล่ ได้แก่กล้องซึ่งจะนำภาพในข้อออกมาให้เห็นในจอภาพต่างๆ ในข้อ

                ข้อดีการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อ ได้แก่ การสามารถเห็นพยาธิสภาพในข้อได้อย่างชัดเจนและสามารถแก้ไขพยาธิสภาพได้ดี แผลมีขนาดเล็ก บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อรอบน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะเจ็บน้อยกว่า สามารถทำกายภาพได้เร็วและระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลสั้นกว่า

     การรักษาโดยการส่องกล้อง

1.การผ่าตัดข้อไหล่อักเสบ

                การรักษา:ตกแต่ง , ล้างข้อไหล่ ด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น เครื่องกรอและและตัดเนื้อเยื่อ อาจมีการตัดถุงน้ำข้อไหล่ หรือนำผลึกหินปูนออกจากข้อ

2.การผ่าตัดข้อไหล่ติด

                การรักษา:ตกแต่ง,ตัดเยื่อหุ้มข้อ ด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง หรือ เครื่องมือพิเศษ เช่นเครื่องจี้ไฟฟ้า

3.การผ่าตัดข้อไหล่หลุดหลาม

                การรักษา:ผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นเบ้าข้อไหล่บริเวณที่มีการฉีกขาด

4.การผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อไหล่ถูกหนีบ

                การรักษา:ผ่าตัดตกแต่งกรอกระดูกสะบักส่วนที่มีการกดทับกล้ามเนื้อไหล่ ด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น เครื่องกรอกระดูกและตัดเนื้อเยื่อ

5.การผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่ฉีกขาด

                การักษา:ผ่าตัดเย็บซ่อมกล้ามเนื้อข้อไหล่บริเวณที่มีการฉีกขาด


             ก่อนผ่าตัด                             หลังผ่าตัด

                    

รูปการผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อไหล่ฉีกขาด

 

ลักษณะการใช้กล้องส่องข้อในการผ่าตัด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้